กฟผ. ร่วมกับ ลายกนก ยกสยาม เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลิตรายการเฉลิมพระเกียรติ  ‘‘สืบสาน พระราชปณิธาน ในหลวงเพื่อปวงประชา’’

กฟผ. ร่วมกับ ลายกนก ยกสยาม เปิดตัวรายการเฉลิมพระเกียรติตอนพิเศษ “สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวงเพื่อปวงประชา”  ส่งเสริมความเข้าใจในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ และสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567   ณ สถานีข่าว TOP NEWS  STUDIO 2   การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ร่วมกับบริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด ผู้ผลิตรายการลายกนกยกสยาม ได้จัดงานเปิดตัวรายการเฉลิมพระเกียรติตอนพิเศษ “สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวงเพื่อปวงประชาเพื่อถ่ายทอดพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ปรากฏการณ์สังคม และพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินต่อจากองค์มหาราชที่ยิ่งใหญ่ ให้ประชาชนและเยาวชนได้ภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทยผ่านการนำเสนอรายการตอนพิเศษใน ลายกนกยกสยาม 8 ตอน

โดยในงานแถลงข่าวมีการพูดคุยเสวนาถึงความเป็นมาและความร่วมมือครั้งสำคัญในการผลิตรายการตอนพิเศษครั้งนี้ ได้แก่ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, นายฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท  ท็อปนิวส์ดิจิตัล มีเดีย จำกัด, อาจารย์ไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ (ที่ปรึกษาโครงการกิตติมศักดิ์)  

จากนั้นเป็นการพูดคุยกับผู้ดำเนินรายการหลักของตอนพิเศษนี้ นำโดย นายกนก รัตน์วงศ์สกุล ร่วมด้วย นางสาวอุบลรัตน์ เถาว์น้อย และนางสาวนิธิตรา เชาว์พยัคฆ์ โดยแต่ละคนได้เล่าถึงความรู้สึกในการเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดและการเตรียมตัวข้อมูลในการถ่ายทำรายการครั้งนี้ โดยจะออกอากาศทั้งหมด 8 ตอน ประกอบไปด้วย

ตอนที่ 1  : พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ร.๒)  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวีและช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศ จนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก   รัชสมัยของท่านถือเป็นยุคทองของวรรณคดี

ตอนที่ 2  : เลิศล้ำเศรษฐกิจ แนวคิดอารยะ วัฒนะสู่สากล (ร.๔)  พระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ ๔ ที่ต่อประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์พระองค์แรกที่ทรงเริ่ม “พระราชวิเทโศบาย” เปิดประเทศคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ยอมรับวัฒนธรรมบางอย่างมาใช้ บางอย่างก็มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ทรงผูกราชสัมพันธมิตรกับนานามหาประเทศ  ทรงมีสายพระเนตรสอดส่องการณ์ไกล เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ ทรงเป็น“พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช”หมายความว่า “พระมหาราชเจ้าผู้ทรงเปรียบแม้นเทวดา ทรงวิทยาภรณ์เป็นมหามงกุฎปกเกล้าปกกระหม่อมชาวสยาม”

ตอนที่ 3  : กษัตริย์นักปฎิบัติ สืบสาน รักษา ต่อยอด (ร.๑๐)  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานมุ่งมั่นทรงเพื่อคนไทยทุกคน  ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ดั่งพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอดให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดสัมฤทธิผลสู่พสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดินไทย ทรงให้ความสำคัญกับ “น้ำ” ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ในการจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับการเกษตรผสมผสานการเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” ประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กฟผ. เขื่อนวชิราลงกรณ นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข มูลนิธิกาญจนบารมี โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ และยังมี โครงการจิตอาสา“เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสมัครสมานสามัคคี สร้างสรรค์ความดีเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไม่หวังสิ่งตอบแทน

ตอนที่ 4  : ย้อนมองประวัติศาสตร์ กษัตริย์ผู้พัฒนาสยามประเทศ (ร.๔) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกระสาปน์สิทธิการ โรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย ภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณที่เคยเป็นโรง ทำเงินพดด้วงเดิม ด้านหน้าพระคลังมหาสมบัติ บริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตูสุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออก   และติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ ขับเคลื่อนด้วยแรงดันไอน้ำเป็นเครื่องแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ตอนที่ 5  : กษัตริย์ผู้มาก่อนกาล สายพระเนตรกว้างไกล (ร.๖) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสะท้อนให้เห็นถึงนำแนวคิดแบบอังกฤษมาประยุกต์เข้ากับความเป็นไทย นำศิลปะแบบตะวันตกมาผสมผสานเข้ากับศิลปวัฒนธรรมไทยของพระองค์ท่านการวางรากฐานประชาธิปไตย และความเท่าเทียม โมเดลการทดลองประชาธิปไตย จำลอง ดุสิตธานี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือกำเนิด กองเสือป่า มีลักษณะคล้ายทหารรักษาดินแดนของอังกฤษ (Territory Army) สนับสนุนการทำงานของทหารโดยเฉพาะในยามศึกสงคราม ทรงสถาปนาวชิราวุธวิทยาลัย โดยถอดแบบการศึกษามาจากอังกฤษ ปัจจุบันในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ได้ทรงสืบสาน ต่อยอด ด้วยการพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธยให้แก่โรงเรียน  วชิราวุธวิทยาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖” ซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัดของประเทศ

ตอนที่ 6  : พระมหาธีรราชเจ้า  นักปราชญ์แห่งสยาม (ร.๖) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” เพราะทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันถึง ๑,๒๓๖ เรื่อง นอกจากนั้น ยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทานมากกวำ ๖,๔๐๐ นามสกุลพระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๖ “ เพลงสรรเสริญพระบารมี ” เป็นเพลงประจำพระมหากษัตริย์ ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามได้ใช้เพลงประโคมอย่างโบราณ เพื่อใช้เป็นเพลงถวายพระเกียรติUNESCO ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

ตอนที่ 7  : แสงสว่างจากผืนดิน  พระบารมีปกเกล้า ประชาธิปไตย  (ร.๗) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีพระบรมราชโองการให้สงวนแหล่งถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไว้ใช้ในราชการเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลและเป็นที่ประจักษ์จนปัจจุบัน สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน “เหมืองแม่เมาะ” กฟผ.    มีพื้นที่บ่อเหมืองประมาณ 18,000 ไร่ มีปริมาณถ่านหินลิกไนต์สำรองทางธรณีวิทยา 1,088 ล้านตัน ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พิสูจน์ให้เห็นว่าได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อกิจการพลังงาน ของประเทศที่มีการพัฒนาเหมืองถ่านหินลิกไนต์และถือเป็นต้นพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (จ.ลำปาง)กษัตริย์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

ตอนที่ 8  : เลอตอ สืบสานปณิธาน โครงการหลวงสองแผ่นดิน (ร.๑๐) “ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ” ลำดับที่ ๓๙ ของมูลนิธิโครงการหลวง ก่อตั้งขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร      “ โครงการหลวงเลอตอ” รอยต่อแห่ง ๒ ยุคสมัย และความสำเร็จจากพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นโครงการหลวงลำดับแรกของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ที่มีผลสัมฤทธิ์จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม จากพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา ต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวงของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๙ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย “เขื่อนภูมิพล เขื่อนพระราชา”โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ ที่มีสายส่งเชื่อมโยงครอบคลุมและดำเนินการจ่ายไฟให้แก่จังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ทำให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนของพระองค์พ้นจากความทุกข์ยากลำบาก ทั้งนี้ยังมี “โครงการหลวงเลอตอ” รอยต่อแห่ง ๒ ยุคสมัย ที่สะท้อนให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน โดยมี กฟผ. ยื่นมือเข้าไปสนับสนุนซึ่งได้ปรากฏผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้มาจนถึงปัจจุบัน

ร่วมตามติดรายการลายกนกยกสยามตอนพิเศษ  “สืบสานพระราชปณิธาน ในหลวงเพื่อปวงประชา”  ซึ่งมีทั้งหมด 8 ตอน  ออกอากาศเดือนละ 1 ตอน  เริ่มตอนแรก พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ร.๒) วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคมนี้ เวลา 20.10-21.10 น.   ทางสถานีโทรทัศน์ TOP NEWS-JKN 18 และชมสดผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทาง YouTube Facebook ของ TOPNEWS

About Author