กิจกรรม SACIT Concept2023 : Today Life with BCG  ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept) 

กิจกรรม SACIT Concept2023 : Today Life with BCG  ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept) 

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 ในงานงาน Crafts Bangkok 2023 ณ Hall 98-99 มหกรรมงานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรมและงานคราฟต์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี จัดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือสศท.

คุณนฤดี ภู่รัตนรักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT  พาเยี่ยมชมนิทรรศการพร้อมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการผลลัพธ์จากการพัฒนาของโครงการฯดังนี้

เนื่องจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACIT Concept) อย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมได้นำเสนอแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรมไทย โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่าง “ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม” และ “นักออกแบบ” ดำเนินการออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวคิด Today Life with BCG 

ซึ่งในปีนี้ สศท. มีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เพิ่มมากขึ้น ต่อยอดองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ได้รับการต่อยอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่และพัฒนาให้เกิดความร่วมสมัย โดยใช้หลักการ BCG (Bio Circular และ Green) นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่สอดรับกับภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างถูกต้อง จนสามารถต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งใน และต่างประเทศ และมีมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย พร้อมบรรจุภัณฑ์ ภายใต้ SACIT Brand เพื่อการพัฒนา และการส่งออกอย่างยั่งยืน

ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง “ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม” และ “นักออกแบบ” ซึ่งได้เป็นผลลัพธ์จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย จำนวน 40 ผลงาน ที่มีโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้

ตัวอย่างผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก คุณเอก ทองประเสิรฐ, (Ek Thongprasert) (ตรงกลางจากรูป)

เป็นที่ปรึกษาและออกแบบกลุ่ม ผู้ผลิตงานศิลปะหัตถกรรมจำนวน 2 ราย 1.นางสาวกัญญ์ชพร มะโนใจ ใบไม้ลายลักษณ์ จ.พะเยา (ซ้ายมือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) : ลายลักษณ์ ปะต่อ

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :  งานหัตถศิลป์ที่รังสรรค์ผลงานผ่านงานศิลปะและภูมิปัญญาจากชุมชนจากฝีมือการปักผ้า นักออกแบบได้เพิ่มเติมแนวคิด การพัฒนาด้านการกำหนดสี และองค์ประกอบของรายละเอียดที่ทางชุมชนได้ทำอยู่แล้ว เพื่แปรับจากรูปแบบเดิมที่ลายพื้น และลายปักมักแย่งความสนใจกันเองจนทำงานงานไม่มีความน่าสนใจ พัฒนาโดยการส่งเศษผ้าที่เหลือจากระบบการผลิตสินค้าหลัก พร้อมกับการคัดเลือก รองเท้าผ้าใบ และกระเป๋ามือสองที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด เป็นของที่ไม่ได้ผลิตขึ้นมาใหม่ ตามหลักแนวคิด Upcycled Design ต่อยอดนำส่งให้ทางชุมชน โดยการคัดเลือกสีเศษผ้า เป็นโทนสีแบบ Monotone เพื่อให้ผลงานที่ออกมามีสีที่ไม่กระจัดกระจายแบบให้เกิดความแตกต่างและลงตัวมากขึ้นจากที่เคยทำอยู่ ส่งเสริมให้ลายปักจาปลายเข็มสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้ดีขึ้นแตกต่าง 

Contact:  +66 (0)9 0199 7414

Line ID  : kankan_2553

2.นางสาวกันย์ญเนศ พรมะธานชัย ญเนศไทยดีไซน์ จ.แพร่ (ขวามือจากรูป

ชื่อผลงาน (Collection) : Ganapati

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :  แรงบันดาลใจที่อยากจะสร้างสรรค์งานให้มีความหลากหลาย สร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยนำเอาเส้นใยฝ้ายและไหมนำมารังสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ และด้วยความรัก ความศรัทธาที่มีต่อพระพิฆเนศ จึงได้คิดกระบวนการออกแบบร่วมสมัยในรูปแบบของงานศิลปะบนผืนผ้า

Contact:  +66 (0) 8 6959 4964 

E-Mail : [email protected]

FB : ญเนศไทยดีไซน์

IG : yanetthaiDesign

Line ID  : 0869594964

และผลงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอ.วิษณุ ไทยแท้ (Freehandcraft) (ตรงกลางจากรูป)

เป็นที่ปรึกษาและออกแบบกลุ่ม ผู้ผลิตงานศิลปะหัตถกรรมจำนวน 2 ราย

1.นางสาวไขแสง แฮนด์เมด Khaisaeng Handmade จ.ปทุมธานี (ซ้ายมือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) :  Pathum Thani’s Nature

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) : ปทุมธานี จังหวัดปริมณฑลที่เต็มไปด้วยพื้นที่ธรรมชาติ และพื้นที่ทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาแต่โบราณนานมา นักออกแบบได้เลือกใช้ดอกบัวมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ที่เล่าถึงสื่อสารอัตลักษณ์ของพื้นที่ผ่านรูปทรงธรรมชาติ

Contact:  +66 (0) 8 1208 5818

Line ID  : ks2510

2.นางสาวจุฑามณี อาจกล้า Nineshop99 จ.เชียงราย (ขวามือจากรูป)

ชื่อผลงาน (Collection) : เสียงร้องจากป่า (Toxic Dust)

แนวคิด / แรงบันดาลใจ (Inspiration) :  ปัญหาฝุ่นควันของทางภาคเหนือ คือสิ่งที่ผู้คนใน จ.เชียงราย ประสบพบเจอมาโดยตลอด  เพราะเกิดจากการเผาป่าและการเผาในภาคการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงาน สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

Contact:  +66 (0) 8 1034 1614​

Line ID  : mamnineshop

สำหรับผู้ที่สนใจผลงานการพัฒนาทั้งหมดในโครงการ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือเข้าไปเยียมชมผลงานของนักออกแบบ และผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมได้ที่ www.sacit.or.th

About Author