“ของขวัญวันเด็กที่พ่อแม่อยากได้จากรัฐบาลให้ลูก”

​สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ของขวัญวันเด็กที่พ่อแม่อยากได้จากรัฐบาลให้ลูก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3–10 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีบุตรอายุแรกเกิดถึง 15 ปี ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับของขวัญวันเด็กที่พ่อแม่อยากได้จากรัฐบาลให้ลูก การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00

​จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป มีบุตรอายุแรกเกิดถึง 15 ปี ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป เกี่ยวกับของขวัญวันเด็กที่พ่อแม่อยากได้จากรัฐบาลให้ลูก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.39 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นสวัสดิการของรัฐที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 18.42 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษา ร้อยละ 10.83 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการสนับสนุนสวัสดิการด้านการศึกษาจากรัฐบาล ร้อยละ 9.92 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการเข้าถึงบริการภาครัฐของเด็ก ร้อยละ 9.32 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นครูที่มีคุณภาพ ร้อยละ 8.35 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการแก้ปัญหาสภาพอากาศ ฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 7.45 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดของเด็ก ร้อยละ 5.79 ระบุว่า อยากได้ของขวัญวันเด็กจากรัฐบาลเป็นการเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับเด็ก และร้อยละ 3.53 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

​ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป มีบุตรอายุแรกเกิดถึง 15 ปี ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป เกี่ยวกับความคิดเห็นของพ่อแม่ที่อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็ก พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 19.85 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม  มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 14.66 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการกระทำความรุนแรงทางร่างกาย ร้อยละ 13.76 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการกระทำความรุนแรงทางอารมณ์ ร้อยละ 13.31 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการกระทำความรุนแรงทางเพศ ร้อยละ 12.33 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง ร้อยละ 11.73 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก ร้อยละ 10.75 ระบุว่า อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเด็ก และ ร้อยละ 3.61 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

​เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.33 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 18.42 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.89 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.61 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.67 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 47.74 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.26 เป็นเพศหญิง

​ตัวอย่าง ร้อยละ 18.95 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 23.68 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 24.89 อายุ 36-45 ปี และร้อยละ 32.48 อายุ 46 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 94.59 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.38 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 2.03 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 42.93 มีบุตรจำนวน 1 คน ร้อยละ 48.50 มีบุตร จำนวน 2 คน ร้อยละ 6.84 มีบุตร จำนวน 3 คน และ ร้อยละ 1.73 มีบุตร จำนวน 4 คน ขึ้นไป

​ตัวอย่าง ร้อยละ 88.80 สถานภาพสมรส และร้อยละ 11.20 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 17.97จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 42.78 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.12 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.99 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.14 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 

​ตัวอย่าง ร้อยละ 9.85 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.56 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.65 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.81 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 18.42 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 22.71 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

​ตัวอย่าง ร้อยละ 21.51 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.93 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.22  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.91 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.00 ไม่ระบุรายได้

​สำหรับความเห็นของ ผศ.ดร. สุดาภรณ์ กิจกุลนำชัย นักวิชาการด้านการจัดการภาครัฐ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้ให้ความเห็นในกรณีสวัสดิการของรัฐที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กว่า “เด็กไม่ใช่แค่เพียงมนุษย์ตัวจิ๋วที่จะเติบโตไปตามกาลเวลาเท่านั้น แต่เขาคือบุคลากรที่สำคัญของประเทศที่ต้องได้รับการดูแล ให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับยุคสมัย โดยเฉพาะ การเข้าถึงสิทธิต่างๆ  ที่เด็กสมควรได้รับเพื่อการเติบโตเป็นเยาวชนที่มีคุณค่า บนพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง”  ซึ่ง ตามอนุสัญญาสิทธิเด็กข้อที่ 26 ระบุว่า “รัฐควรให้ความช่วยเหลือ ทั้งทางการเงิน และด้านอื่น ๆ แก่เด็กที่ครอบครัวยากจน” ดังนั้น จึงมีเสียงสะท้อนของประชาชนที่ขอฝากคำถามถึงรัฐบาลท่านเศรษฐา ว่า 1) รัฐบาลนี้ มีสวัสดิการรัฐที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กได้เพียงพอจริงหรือ ? 2)รัฐบาลมีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐของเด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ? และ 3) “นโยบายการแก้ไขปัญหา ตั้งครรภ์ ไม่พร้อม” ในยุคปัจจุบัน สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือ ?

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาในการเผยแพร่ ด้วยความเคารพอย่างสูง

สำนักวิจัยสยามเทคโพล

1. ท่านอยากให้รัฐบาลให้ของขวัญวันเด็กด้านใดมากที่สุด

ความคิดเห็นของพ่อแม่ที่อยากให้รัฐบาลให้ของขวัญวันเด็กมากที่สุดร้อยละ
สวัสดิการของรัฐที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก26.39
การแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษา18.42
การสนับสนุนสวัสดิการด้านการศึกษาจากรัฐบาล10.83
การเข้าถึงบริการภาครัฐของเด็ก9.92
ครูที่มีคุณภาพ 9.32
การแก้ปัญหาสภาพอากาศ ฝุ่น PM 2.58.35
การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดของเด็ก7.45
การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับเด็ก5.79
เฉยๆ /ไม่ตอบ/ไม่สนใจ3.53
รวม100.00

2. ท่านอยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กด้านใดมากที่สุด

ความคิดเห็นของพ่อแม่ที่อยากให้รัฐบาลออกนโยบายปกป้องดูแลช่วยเหลือเด็กร้อยละ
การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม  19.85
การกระทำความรุนแรงทางร่างกาย14.66
การกระทำความรุนแรงทางอารมณ์13.76
การกระทำความรุนแรงทางเพศ13.31
การปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง12.33
การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก11.73
การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเด็ก10.75
เฉยๆ /ไม่ตอบ/ไม่สนใจ3.61
รวม100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาคจำนวนร้อยละ
กรุงเทพมหานคร1249.33
ภาคกลาง24518.42
ภาคเหนือ23817.89
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ44033.08
ภาคใต้18113.61
ภาคตะวันออก1027.67
รวม1,330100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศจำนวนร้อยละ
ชาย645​47.74
หญิง69552.26
รวม1,330100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุจำนวนร้อยละ
18-25 ปี25218.95
26-35 ปี31523.68
36-45 ปี33124.89
46 ปี ขึ้นไป43232.48
รวม1,330100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนาจำนวนร้อยละ
พุทธ1,25894.59
อิสลาม453.38
ศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ 272.03
รวม1,330100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพสมรส

สถานภาพสมรสจำนวนร้อยละ
สมรส1,18188.80
หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ 14911.20
รวม1,330100.00

หมายเหตุ : สอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีบุตร อายุแรกเกิดถึง 15 ปี ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามจำนวนบุตร

จำนวนบุตรจำนวนร้อยละ
1 คน57142.93
2 คน 64548.50
3 คน 916.84
4 คน ขึ้นไป231.73
รวม1,330100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษาจำนวนร้อยละ
ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า23917.97
มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 56942.78
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 1088.12
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 35926.99
สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า554.14
รวม1,330100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลักจำนวนร้อยละ
ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ1319.85
พนักงานเอกชน 20715.56
เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 28821.65
เกษตรกร/ประมง 15711.81
รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน24518.42
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน30222.71
รวม1,330100.00

ตารางที่ 9 แสดงจำนวน และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือนจำนวนร้อยละ
ไม่มีรายได้286​21.51
ไม่เกิน 10,000 บาท 30522.93
10,001-20,000 บาท 36227.22
20,001-30,000 บาท 1229.17
30,001-40,000 บาท705.26
40,001 บาทขึ้นไป523.91
ไม่ระบุ13310.00
รวม1,330100.00

About Author