ถอดแนวคิด 2 ผู้บริหาร “ฟรีสแลนด์คัมพิน่า” ผู้ผลิตนมยักษ์ใหญ่ เยือนไทยกับการพัฒนาองค์กรควบคู่ผลิตภัณฑ์

พร้อมใส่ใจสังคมอย่างยั่งยืน     ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มมาตรฐานระดับโลก

เปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหาร ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมโคคุณภาพหลากหลายแบรนด์ ได้แก่ โฟร์โมสต์ นกเหยี่ยวฟอลคอน และเดบิค นายยอน เดิรค์ แวน คาเนอบีค (Mr. Jan Derck van Karnebeek) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางสาวคอรีน แทป (Ms. Corine Tap) ประธานกลุ่มธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชีย มาบอกเล่าแนวคิดการบริหารองค์กรไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด รวมถึงการยึดมั่นสานต่อพันธกิจด้านการพัฒนาสังคมยั่งยืน โดยมีหัวใจหลักที่การส่งมอบโภชนาการที่ดีผ่านผลิตภัณฑ์นมคุณภาพให้กับเด็กทั่วโลก ทั้งนี้ สองผู้บริหารได้มาเยือนประเทศไทยเพื่อดูตลาดและศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

นายยอน เดิรค์ แวน คาเนอบีค ประธานเจ้าหน้าบริหาร รอยัล ฟรีสแลนด์คัมพิน่า  หัวเรือใหญ่ผู้ขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน เผยว่า “ฟรีสแลนด์คัมพิน่า มีวิสัยทัศน์และพันธกิจในการมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโภชนาการที่ดีให้กับผู้คนทั่วโลกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาเพื่อเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุด และตั้งใจจะมอบนมคุณภาพที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภคทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตร และพนักงาน เพื่อมอบสิ่งล้ำค่าให้แก่ลูกค้าคนสำคัญ”

“ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญและผลักดันให้ผู้ผลิตนมมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พวกเขาได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตพัฒนาวิธีการผลิตที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการจัดการขยะ การใช้น้ำ และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ฟรีสแลนด์คัมพิน่ายังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ใส่ใจการเพิ่มคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ให้เป็นมากกว่าสารอาหารพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ นมไขมันต่ำ โปรตีนเสริม พรีไบโอติก แร่ธาตุ และวิตามิน เราจริงจังกับความท้าทายนี้ และเชื่อว่าเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เราจึงทำสิ่งเหล่านี้ในแบบฉบับของเราด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณค่าทางโภชนาการและอร่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และกล้าพูดได้ว่าไม่มีใครรู้เรื่องนมดีไปกว่าเรา ทั้งนี้เรายังพยายามอย่างเต็มที่ในการผลิตสินค้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาธรรมชาติและรับผิดชอบต่อการจัดการขยะของเราเอง เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาของคนอื่นต่อไป”

นายยอน กล่าวเสริมเกี่ยวกับแนวทางการบริหารองค์กรว่า  “นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมแล้ว หัวใจสำคัญของเราอีกหนึ่งอย่างนั่นคือองค์กร การทำงานร่วมกันเป็นทีมทั่วโลกในแนวทางที่สอดคล้องกันถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทุกคนก้าวไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน บุคลากรที่มีความสามารถคืออาวุธลับของเรา เราจึงต้องการลงทุนด้านบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการฝึกอบรมและพัฒนา ผมจะกระตุ้นให้ทีมงานของผมเชื่อมั่นในทักษะ ความสามารถ และวิธีการที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมต่อเป้าหมายและคุณค่าของบริษัท เพราะเชื่อว่าทีมงานที่ดีจะเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจ”

สำหรับการวางแผนด้านการบริหารในประเทศไทย นายยอน มองว่า “ขณะที่ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด ตลาดของไทยกำลังเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและกลับไปสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่ปกติ ล่าสุดเราได้เห็นการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งปูทางไปสู่ศักยภาพที่แข็งแรงของตลาดด้วยประชากรและรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้เรานำความก้าวหน้าในด้านเทคนิคการผลิต กลยุทธ์การจัดจำหน่าย และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้คาดการณ์ว่าศักยภาพของตลาดอุตสาหกรรมนมในประเทศไทยนั้นยังคงสดใสและสามารถเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง”

ด้าน นางสาวคอรีน แทป ประธานกลุ่มธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชีย รอยัล ฟรีสแลนด์คัมพิน่า  กล่าวถึงภาพรวมของ ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ในส่วนของตลาดเอเชียว่า “ยังคงมีเด็กจำนวนมากได้รับผลกระทบจากภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและโอกาสในชีวิต เราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีสิทธิในการเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น พันธกิจของเราในเอเชียคือ การนำคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากนมไปสู่เด็ก ๆ ให้ได้มากที่สุด”

การรับมือกับความท้าทายของอุตสาหกรรมนมในเอเชียและประเทศไทยในปัจจุบัน นางสาวคอรีน กล่าวว่า “แม้ว่าความมั่งคั่งในเอเชียจะเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาภาวะทุพโภชนาการยังคงส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ทั่วทั้งภูมิภาค ทำให้เราต้องจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน โดยการนำเสนอนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารและรสชาติที่ดีภายใต้แบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจของเรา ในราคาไม่แพงและเข้าถึงได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพและเข้าถึงโภชนาการจากนมที่ดีได้มากที่สุด นอกจากนี้เรายังได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการทางโภชนาการของผู้บริโภคในเอเชียอย่างตรงจุด โดยริเริ่มโครงการวิจัยโภชนาการขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า SEANUTS (Southeast Asian Nutrition Surveys) โครงการ SEANUTS II เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 ปี ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ซึ่งข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โภชนาการให้ตรงกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่น (เช่น การเสริมแคลเซียมและวิตามินดี) และต่อยอดไปสู่ความร่วมมือกับรัฐบาลและสถาบันสุขภาพอีกด้วย”

นางสาวคอรีน เผยถึง กลยุทธ์การบริหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และแผนการบริหารงานของตลาดเอเชียและประเทศไทยในอนาคตว่า “จุดแข็งของเราอยู่ที่คุณภาพและความน่าเชื่อถือ ซึ่งเรามีกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจที่เรียกว่า “Asia Back to Roar” นั่นก็คือ ปกป้องตลาดหลัก (Defend the Core) และรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ให้ได้, ลงทุนเพื่อการเติบโต (Invest for Growth) สร้างสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในหมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์นมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว, ความเข้มงวดในการดำเนินการ (Rigour in Execution) ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและธุรกิจนม และการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน (Lead through Sustainability) มุ่งเน้นเรื่องโภชนาการที่ดีขึ้น บรรจุภัณฑ์ที่ดีขึ้น และการจัดหาผลิตภัณฑ์นมในท้องถิ่น”

 “อย่างไรก็ตาม การเข้าไปดูแล ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวในเอเชียด้วยการมอบโภชนาการที่ดีผ่านผลิตภัณฑ์จากนมยังคงเป็นภาระกิจหลักที่เรายังคงสานต่อ โดยจะเห็นได้จากแคมเปญโฟร์โมสต์ส่งต่อรอยยิ้มให้เด็กไทย (Foremost One Million Smiles) ส่งมอบนม 1 ล้านกล่อง ให้กับเด็กและครอบครัวในกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นแคมเปญที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจนประสบความสำเร็จ เราจึงมีแผนผลักดันและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เราเล็งเห็นว่าอนาคตของประเทศไทยขึ้นอยู่กับความเป็นอยู่ที่ดีของคนรุ่นต่อไป ทำให้เรายังไม่หยุดนิ่งที่จะสานต่อวิสัยทัศน์และพันธกิจที่เป็นหัวใจหลักขององค์กร และหวังว่าจะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์มากขึ้นเพื่อช่วยปลดล็อกศักยภาพของเด็กไทยอย่างเต็มที่” นางสาวคอรีน กล่าวปิดท้าย

About Author

You may have missed