ไทยเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมคณะกรรมการประ สานงานอาเซียน ด้านวิสาหกิจขนาดกลาง

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียน ด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

22 พฤษภาคม 2566 – โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ / ประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพจัด “การประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง” (The 15th Meeting of the ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprises and Related Meetings หรือ 15th ACCMSME and related meetings) มีหน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน, สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council หรือ ASEAN BAC), องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) รวมทั้งประเทศคู่เจรจา ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมันนี สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยจะจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤษภาคมนี้ ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

การประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (The 15th Meeting of the ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprises and Related Meetings หรือ 15th ACCMSME and related meetings) สำหรับปีนี้ประเทศไทยโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม นำโดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ดร. วิมลกานต์  โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และผู้แทนจากประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการจัดประชุม ACCMSME ครั้งที่ 15 ประกอบด้วยสมาชิกจากหน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม, สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council หรือ ASEAN BAC) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) รวมทั้งประเทศคู่เจรจา ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมันนี สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความคืบหน้าและให้ความเห็นต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียนปี 2559-2568 (ASEAN Strategic Action Plan for the SME Development (SAPSMED) 2016-2025) ซึ่งประกอบด้วย 5 เป้ายุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การส่งเสริมผลิตภาพการ

ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน 3) การสนับสนุนการเข้าสู่ตลาด โดยการเน้นการผลิตเพื่อส่งออก และเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานโลก 4) การปรับปรุงนโยบายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเน้นให้หน่วยภาครัฐที่เกี่ยวกับ SMEs มีการประสานงานและทำงานอย่างบูรณาการ รวมทั้งลดขั้นตอนกฎระเบียบ และ 5) การส่งเสริมโอกาสของสตรีและเยาวชนในการพัฒนาผู้ประกอบการและทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงร่วมหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับภูมิภาคและพหุภาคี ซึ่งอาเซียนได้กลายเป็นที่สนใจของนานาชาติ โดยในการประชุมครั้งนี้มีประเทศคู่เจรจาใหม่คือสหราชอาณาจักร

นอกจากนี้ยังมีประเด็นการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ประเทศคู่เจรจาต่างให้ความสนใจหลากหลายหัวข้อที่ได้รับความสนใจและมุ่งมั่นผลักดันจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ เยอรมันนี เกาหลีใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักร อาทิ การส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี การเพิ่มขีดความสามารถของ SME ในอาเซียนด้วยดิจิทัล การส่งเสริมการเข้าสู่สากลของ SME ในอาเซียน การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME ในอาเซียน การดำเนินการอย่างยั่งยืนในระยะยาวของเว็บไซต์ www.aseanaccess.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์กลางของ SMEs ทั้งภูมิภาคอาเซียน โดยสสว. ในฐานะประธาน ASEAN Task Force on ASEAN Access เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการของเว็บไซต์ดังกล่าว ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อเชื่อมโยงการทำการค้าทั้งในอาเซียนและทั่วโลก โดยปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์กว่า 50,000 ราย และมีสมาชิก ASEAN Access ร่วม 3,000 ราย ยังประโยชน์ให้กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์มาก่อน หรือผู้ที่กำลังจะเข้าสู่การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “Your Business Information Gateway to ASEAN and Beyond” โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการค้า การเข้าสู่ตลาด ภาพรวมตลาด ฐานข้อมูลผู้ให้บริการ และอื่น ๆ สำหรับ SMEs ที่ต้องการทำธุรกิจกับตลาดต่างประเทศ บริการจับคู่ธุรกิจด้วย ASEAN Access MATCH เพื่อการเชื่อมโยงการค้าทั้งในอาเซียนและทั่วโลก ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน เพิ่มอัตราการจ้างงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก และลดอุปสรรคทางด้านการค้าการตลาดไปยังต่างประเทศ  อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศสมาชิกอาเซียน และยกระดับการทำธุรกิจให้เติบโตและขยายตัวในอนาคตได้อย่างไร้พรมแดนและไร้ขีดจำกัด

About Author