“Bitkub Academy” ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ “มหาวิทยาลัยรังสิต” พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพนักศึกษาอย่างแท้จริง

บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป ต่อยอดจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิต โดยบริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัดหรือที่รู้จักกันในนาม บิทคับ อะคาเดมี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป ได้ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พัฒนาหลักสูตรการศึกษา RSU 156 Crypto Study (คริปโท ฯ ศึกษา) ซึ่งเป็นรายวิชาที่เปิดใหม่เพื่อบรรจุเป็นหน่วยกิตในรายวิชาการศึกษาทั่วไปให้กับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยรังสิตได้เลือกเรียนตามความสนใจ

หลักสูตรดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน อาทิ ประวัติความเป็นมาของสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี, การจําแนกประเภทของคริปโทเคอร์เรนซี, การเงินรูปแบบใหม่ไร้ศูนย์กลางหรือ Decentralized Finance (DeFi), สินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Non-Fungible Token หรือ NFT , การทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐาน และตัวอย่างการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ก้าวตามทันโลกของเทคโนโลยีดิสรัปชั่นอย่างแท้จริง หลังจากที่นักศึกษาในรายวิชา RSU 156 Crypto Study (คริปโท ฯ ศึกษา) ได้เรียนรู้ในเชิงทฤษฎีแล้ว บิทคับ อะคาเดมี ได้จัดกิจกรรม Mini Pitching ซึ่งเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติ โดยให้นักศึกษานําเสนอความคิดในการนําเทคโนโลยีบล็อกเชนไปปรับใช้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่นักศึกษาสนใจ เพื่อให้นักศึกษาได้ต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในด้านการคิด วิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการนำเสนอในที่สาธารณะ

วิชาคริปโทฯ ศึกษา เป็นหลักสูตรที่จัดสอนโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยรังสิต, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก บิทคับ อะคาเดมี อาทิ นายธนลภย์ ปรีดามาโนช (Senior Digital Asset Analyst Associate), นายณัฐกิตติ์ ขุนดำ (Speaker & Course Developer), นายปิติภูมิ รักษ์ชูชีพ (Academy Business Development Supervisor), นายกันตณัฐ วุฒิธร (Academy Business Development) และนางสาวรุจิษยา พงศ์เจริญตระกูล (Academy Business Development) นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญจากบริษัท บิทคับ อินฟินิตี จำกัด นายกานต์เดช สงเขียว (Assistant Business Development Manager)

อีกทั้งในวันที่ 26 และ 28 ตุลาคม 2565 ทาง บิทคับ อะคาเดมีได้จัดกิจกรรมพิเศษ โดยได้รับเกียรติจากน

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิงส์ พาเยี่ยมชมสถานที่ ‘บิทคับ เอ็ม โซเชียล’ ณ อาคารเดอะ เฮลิกซ์ ศูนย์การค้า ดิ เอมควอเทียร์ อาทิ พาเยี่ยมชมอุปกรณ์เครื่องขุดเหรียญของจริง, ชุดอุปกรณ์การเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลให้ปลอดภัย และ Bitkub NFT Gallery เพื่อให้น้อง ๆ ให้สัมผัสกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากในห้องเรียน และในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม ได้มีการบรรยายพิเศษจาก บิทคับ อะคาเดมี ในหัวข้อ “Key Concepts เพื่อสร้างความระมัดระวังบนตลาดคริปโทเคอเรนซี” เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และเตรียมความพร้อมให้ทุกคนได้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิงส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่าสังคมของเราได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความจำเป็นของประเทศไทยที่จะต้องปรับตัวไปตามโลกที่เปลี่ยนไป ภาคธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีบล็อกเชน, เทคโนโลยี NFT, Metaverse และสินทรัพย์ดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิตครั้งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการยกระดับและส่งเสริมให้นักศึกษาได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน เนื่องด้วยบิทคับมีความต้องการให้นักเรียนและนักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกดิจิทัล ทั้งนี้เราจะมุ่งเน้นและช่วยสนับสนุนเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพมากที่สุด เพื่อให้นักศึกษาสามารถต่อยอด และนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างโอกาส รายได้ และอาชีพได้ในอนาคต”

 

นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด กล่าวว่า “บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัดหรือที่รู้จักกันในนาม บิทคับ อะคาเดมี เราคือผู้นำทางผู้คนจากฝั่ง Physical สู่โลก Digital โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่จะเป็นกำลังหลักในการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อช่วยให้ทุกคนได้เข้าใจถึงข้อมูลต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติ บิทคับ อะคาเดมี พร้อมที่จะเดินหน้าจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ต่อไป ทั้งนี้เรายังคงพยายามพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ผู้คนเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วอยู่เสมอ”

 

 

 

 

 

About Author